รวมข้อสอบ อปท ภาค กข

รวมข้อสอบ อปท ภาค กข
รวมข้อสอบ อปท ภาค กข

ฟรี สรุป ข้อสอบ ติวสอบท้องถิ่น ปี 2560 โดย อ.นิกร

ฟรี สรุป ข้อสอบ ติวสอบท้องถิ่น ปี 2560 โดย อ.นิกร
ฟรี สรุป ข้อสอบ ติวสอบท้องถิ่น ปี 2560 โดย อ.นิกร

สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท.ปี 2560

สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท.ปี 2560
สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท.ปี 2560

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

3.4 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม



3.4 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติ
เทศบาล
.. ๒๔๙๖
[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

ภูมิพลอดุลยเดช ..
ให้ไว้ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ .. ๒๔๙๖
เป็นปีที่ ในรัชกาลปัจจุบัน

              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
              โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเทศบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
              จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
              มาตรา    พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖
              มาตรา ๒*  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
               *[ รก.๒๔๙๖/๑๔/๒๒๒/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖]
              มาตรา ๓   ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๖ และบรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๔    เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครแล้ว ห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในท้องถิ่นนั้น และให้บรรดาบุคคลที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันพ้นจากตำแหน่งและหน้าที่เฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น
              ในเขตเทศบาลตำบลใด ถ้าหมดความจำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
              [มาตรา ๔    แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๒๕๔๖]
              มาตรา ๕    ให้เทศบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้วในวันใช้พระราชบัญญัตินี้คงมีฐานะเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ตามที่เป็นอยู่ แล้วแต่กรณี มีอำนาจหน้าที่และอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๖    บรรดาเทศบัญญัติที่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๗๖ พระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๑ และพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๖ หรือโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น ให้คงใช้บังคับได้
              ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเทศบัญญัติดังกล่าวในวรรคก่อนไม่ชำระค่าปรับ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๐ วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

ส่วนที่
การจัดตั้งเทศบาล

              มาตรา ๗   เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล ให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้นๆ เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ตามพระราชบัญญัตินี้
              ให้เทศบาลเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
              มาตรา ๘    เมื่อมีการจัดตั้งเทศบาลตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เลือกั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นภายในสี่สิบ้าวันนับแต่วันที่ได้จัดตั้งเป็นเทศบาล
              ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันี่จัดตั้งเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ปลัดเทศบาล และให้ปฏิบัติหน้าี่นายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้ เป็นการชั่วคราว จนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
              [มาตรา ๘   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๙   เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
              [มาตรา ๙   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๐ เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
              [มาตรา ๑๐   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๑   เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
              [มาตรา ๑๑   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๒   ภายใต้บังคับมาตรา มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ การเปลี่ยนชื่อเทศบาลหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย
              ในกรณีที่เป็นการเปี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ในท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงเขตเป็นเทศบาลตามความในวรรคหนึ่งสิ้นสุดอำนาจหน้าที่เฉพาะในเขตที่ได้เปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลใช้บังคับต้นไป
              [มาตรา ๑๒  แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๓   ภายใต้บังคับมาตรา มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ ท้องถิ่นซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลแล้วอาจถูกเปลี่ยนแปลงฐานะหรือยุบเลิกได้โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
              ท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะตามความในวรรคหนึ่ง ให้พ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมนับแต่วันที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นต้นไป บรรดาทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และสิทธิเรียกร้องของเทศบาลเดิมให้โอนไปเป็นของเทศบาลใหม่ในขณะเดียวกันนั้น และบรรดาเทศบัญญัติที่ได้ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว คงให้ใช้บังคับต่อไป
              ในการยุบเลิกเทศบาล ให้ระบุถึงวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นด้วย
              [มาตรา ๑๓   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

ส่วนที่
องค์การเทศบาล

              มาตรา ๑๔   องค์การเทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี

              [มาตรา ๑๔   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

บทที่
สภาเทศบาล

              มาตรา ๑๕   สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
              ()   สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
              ()   สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
              ()   สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
              ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ี่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
              ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
              [มาตรา ๑๕   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๖   สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น        สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
              [มาตรา ๑๖   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๑๗   ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่าจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งจะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
              มาตรา ๑๘   สมาชิกสภาเทศบาลย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลนั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ
              มาตรา ๑๘ ทวิ สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้น หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ
              [มาตรา ๑๘ ทวิ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

              มาตรา ๑๙   สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลง เมื่อ

              ()   ถึงคราวออกตามวาระ หรือมีการยุบสภาเทศบาล
              ()   ตาย
              ()   ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
              ()   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง
              ()   ขาดประชุมสภาเทศบาลสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
              ()   กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ ทวิ
              ()   สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเทศบาล โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
              ()   ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
              เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม () () หรือ () ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
              ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตาม () พร้อมกันทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาเทศบาล
              [มาตรา ๑๙   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๒๐   สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
              ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
              [วรรคสองของมาตรา ๒๐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๒๐ ทวิ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
              ()   ลาออก โดยืนหนังสือลาออกต่อู้ว่าราชการจังหวัด
              ()   สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
              ()   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา ๗๓
              ()   สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
              ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลตาม () หรือ () จะดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลอีกไม่ได้ตลอดอายุของสภาเทศบาลนั้น
              ให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลที่ได้รับเลือกใหม่อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
              [มาตรา ๒๐ ทวิ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๒๐ ตรี ในกรณีที่ตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา ๒๐ ทวิ ให้สภาเทศบาลเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
              [มาตรา ๒๐ ตรี เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๒๑   ประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล
              รองประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาเทศบาลในเมื่อประธานสภาเทศบาลไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
              มาตรา ๒๒   ในเมื่อประธานและรองประธานสภาเทศบาลไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกสภาเทศบาลเลือกตั้งกันเองเป็นประธานเฉพาะในคราวประชุมนั้น
              มาตรา ๒๓   ให้กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลไว้
              มาตรา ๒๔   ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสี่สมัย สมัยประชุมสามัญครั้งแรกและวันเริ่มประชุมสมัยสามัญประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด
              ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภาเทศบาลครั้งแรก ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวนแล้ว และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล
              กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสอง หรือมีการประชุมสภาเทศบาลแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล
              สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
              [มาตรา ๒๔   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๒๕   โดยปกติให้ประธานสภาเทศบาลเป็นผู้เรียกประชุมสภาเทศบาลตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
              ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภาเทศบาล หรือประธานสภาเทศบาลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
              มาตรา ๒๖   นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล ประธานสภาเทศบาลก็ดี หรือนายกเทศมนตรีก็ดี หรือสมาชิกสภาเทศบาลมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งก็ดี อาจทำคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา ถ้าเห็นสมควรก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมวิสามัญได้
              สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
              มาตรา ๒๗   การประชุมสภาเทศบาล ต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่อยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
              [มาตรา ๒๗   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๒๘   การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
              สมาชิกสภาเทศบาลคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจำนวนลงเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
              มาตรา ๒๙   ห้ามมิให้สภาเทศบาลประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเรื่องการเมืองแห่งรัฐ
              มาตรา ๓๐   การประชุมของสภาเทศบาลย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่จะได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล
              เมื่อนายกเทศมนตรี หรือสมาชิกสภาเทศบาลรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมร้องขอให้ทำการประชุมลับ ก็ให้ประธานสภาเทศบาลดำเนินการประชุมลับได้ โดยไม่ต้องขอมติที่ประชุม
              [วรรคสองของมาตรา ๓๐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๓๑   ในที่ประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ แต่นายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าข้อความนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
              [มาตรา ๓๑   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๓๒   สภาเทศบาลมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเทศบาลตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเทศบาล และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเทศบาล เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล แล้วรายงานต่อสภาเทศบาล
              ในการตั้งคณะกรรมการวิสามัญตามวรรคหนึ่ง นายกเทศมนตรีมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิก เพื่อให้สภาเทศบาลแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
              คณะกรรมการที่สภาตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการในเรื่องหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
              [มาตรา ๑๐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๓๒ ทวิ ในกรณีกิจการอื่นใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของเทศบาลหรือประชาชนในท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่หรือนายกเทศมนตรีอาจเสนอต่อประธานสภาเทศบาลเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในท้องถิ่นได้ และประกาศให้ประชาชนทราบ
              การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกิจการสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย การออกเสียงประชามติที่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะจะกระทำมิได้
              ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ
              การออกเสียงประชามติตามมาตรานี้ให้มีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่สภาเทศบาลหรือนายกเทศมนตรีในเรื่องนั้น
              หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
              [มาตรา ๓๒ ทวิ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖ ]
              มาตรา ๓๓   การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๒ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

              ระเบียบการประชุมของคณะกรรมการให้ใช้ระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลโดยอนุโลม

              มาตรา ๓๔   (ยกเลิก)
              มาตรา ๓๕   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๓๔   มาตรา ๓๕ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

บทที่
คณะเทศมนตรี
(ยกเลิก)
              มาตรา ๓๖   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๓๖   ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๓๗   (ยกเลิก)
              มาตรา ๓๘   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๓๗   มาตรา ๓๘ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๓๙   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๐   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๓๙   มาตรา ๔๐ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๑   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๒   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๓   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๔   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๔๑   มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๕   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๖   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๗   (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๘   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๔๕    มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

บทที่ ๒ ทวิ

นายกเทศมนตรี


              มาตรา ๔๘ ทวิ ให้เทศบาลมีนายกเทศมนตรีคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
              [มาตรา ๔๘ ทวิ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   ตรี (ยกเลิก)
              มาตรา ๔๘   จัตวา (ยกเลิก)
              [มาตรา ๔๘ ตรี มาตรา ๔๘ จัตวา ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) ..๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   เบญจ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
              ()   มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
              ()   สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
              ()   ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
              ()   เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเื่องจากกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
              [มาตรา ๔๘ เบญจ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘ ฉ (ยกเลิก)
              [มาตรา ๔๘ ฉ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   สัตต ให้นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
              ในกรณีที่นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเื่อดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเื่อพ้นระยะเวลาี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
              [มาตรา ๔๘   สัตต แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
              ()   เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
              ()   เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
              ()   เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
              นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
              [มาตรา ๔๘   อัฎฐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

              มาตรา ๔๘ นว รองนายกเทศมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ เบญจ

              [มาตรา ๔๘ นว แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘ ทศ ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาเทศบาลเรียกประชุม สภาเทศบาลเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
              กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล หรือสภาเทศบาลถูกยุบตามมาตรา ๒๔ หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกเทศมนตรีจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ เมื่อได้มีการเลือกประธานสภาเทศบาลแล้วให้ประธานสภาเทศบาลเรียกประชุมสภาเทศบาลเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเลือกประธานสภาเทศบาล
              การประชุมเพื่อแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีให้กระทำโดยเปิดเผย โดยนายกเทศมนตรีต้องจัดทำนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรแจกให้สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนที่มาประชุมด้วย
              หากนายกเทศมนตรีไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้นายกเทศมนตรีจัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนภายในเจ็ดวัน โดยให้นำวิธีการแจ้งคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่านายกเทศมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลแล้ว
              ให้นายกเทศมนตรีจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
              คำแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีและรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานให้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลด้วย
              [มาตรา ๔๘   ทศ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   เอกาทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี หรือผู้ซึ่งนายกเทศมนตรีมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภาเทศบาลและมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
              มาตรา ๔๘   ทวาทศ สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาเทศบาลเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการเทศบาลโดยไม่มีการลงมติ
              ญัตติตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภาเทศบาล และให้ประธานสภาเทศบาลกำหนดวันสำหรับการอภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าห้าวันและไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติแล้วแจ้งให้นายกเทศมนตรีทราบ

              มาตรา ๔๘   เตรส นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

              ()   กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย
              ()   สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
              ()   แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี
              ()   วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
              ()   รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
              ()   ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
              [อนุมาตรา (๑) ของมาตรา ๔๘ เตรส แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   จตุทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรีต้องไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              ()   ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ตำแหน่งที่ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
              ()   รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
              ()   เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้น หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ
              บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งรับเงินตอบแทนค่าเบี้ยประชุมหรือเงินอื่นใดเนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาเทศบาลหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
              [วรรคหนึ่งของมาตรา ๔๘ จตุทศ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

              มาตรา ๔๘   ปัญจทศ นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

              ()   ถึงคราวออกตามวาระ
              ()   ตาย
              ()   ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
              ()   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ เบญจ
              ()   กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ จตุทศ
              ()   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ ตรี วรรคห้า หรือมาตรา ๗๓
              ()   ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
              ()   ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่านายกเทศมนตรีไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
              ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
              เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกเทศมนตรีสิ้นสุดลงตาม () หรือ () ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
              [มาตรา ๔๘   ปัญจทศ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   โสฬส รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
              ()   นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
              ()   นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
              ()   ตาย
              ()   ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกเทศมนตรี
              ()   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ นว         
              ()   กระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๘ จตุทศ
              ()   ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
              ()   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๗๓
              ให้นำความใน () () () () () และ () มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีด้วยโดยอนุโลม
              ให้นำความในวรรคสามของมาตรา ๔๘ ปัญจทศ มาใช้บังคับกับกรณีของรองนายกเทศมนตรี ี่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีด้วยโดยอนุโลม
              [อนุมาตรา (๕) และวรรคสองของมาตรา ๔๘ โสฬส แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              [มาตรา ๔๘   โสฬส วรรคสาม เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   สัตตรส ให้นายกเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล

              มาตรา ๔๘   อัฏฐารส เทศบาลแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้

              ()   สำนักปลัดเทศบาล
              ()   ส่วนราชการอื่นตามที่นายกเทศมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
              การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักปลัดเทศบาลและส่วนราชการอื่นตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่นายกเทศมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
              มาตรา ๔๘   เอกูนวีสติ ให้มีปลัดเทศบาลคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลรองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
              การบริหารงานบุคคลของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
              มาตรา ๔๘   วีสติ อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
              ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกเทศมนตรีตามลำดับที่นายกเทศมนตรีจัดไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายกเทศมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน
              อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่นายกเทศมนตรีจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น นายกเทศมนตรีอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือโดยให้รองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกเทศมนตรีก็ได้ แต่ถ้ามอบให้ปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
              การปฏิบัติราชการแทนนายกเทศมนตรีตามวรรคสาม ต้องกระทำภายใต้การกำกับดูแลและกรอบนโยบายที่นายกเทศมนตรีกำหนดไว้
              มาตรา ๔๘   เอกวีสติ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรีและพนักงานเทศบาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
              มาตรา ๔๘   ทวาวีสติ ถ้าในเขตเทศบาลใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นเป็นการสมควรให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล หรือหัวหน้าส่วนราชการในเขตเทศบาลนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
              ในการเปรียบเทียบคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้เปรียบเทียบคดีใดแล้ว ให้รีบส่งบันทึกการเปรียบเทียบพร้อมด้วยสำนวนไปยังพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งเขตท้องที่ซึ่งเทศบาลนั้นตั้งอยู่เพื่อดำเนินการต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่ชักช้า
              [มาตรา ๔๘ สัตตรส มาตรา ๔๘ อัฏฐารส มาตรา ๔๘ เอกูนวีสติ มาตรา ๔๘ วีสติ มาตรา ๔๘ เอกวีสติ มาตรา ๔๘ ทวาวีสติ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๔๘   เตวีสติ เมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลแล้ว ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับอำนาจห้าี่ของกำนันและผู้ใหญ่้าน บรรดาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ หรือกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              ในกรณีที่เทศบาลตำบลใดมีทั้งนายกเทศมนตรี และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ ปกครองท้องที่หรือกฎหมายอื่นในเขตเทศบาลตำบลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              [มาตรา ๔๘   เตวีสติ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
           มาตรา ๔๘ จตุวีสติ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
              [มาตรา ๔๘ จตุวีสติ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๔๘   ปัญจวีสติ ในกรณีที่บทบัญญัติมาตราใดในพระราชบัญญัตินี้ กล่าวถึงคณะเทศมนตรี ให้หมายถึงนายกเทศมนตรีทบัญญัติมาตราใดกล่าวถึงเทศมนตรีให้หมายถึงรองนายก เทศมนตรี เว้นแต่บทบัญญัติมาตราใดมีข้อความเป็นอย่างเดียวกันหรือขัดแย้งกันกับบทบัญญัติในบทนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในบทนี้แทน
              บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ประกาศหรือ คำสั่งใดที่อ้างถึงคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ประกาศหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงนายกเทศมนตรีตามบทนี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งบทนี้
              [มาตรา ๔๘ จตุวีสติ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
ส่วนที่
หน้าที่ของเทศบาล

บทที่
เทศบาลตำบล

              มาตรา ๔๙   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๔๙   ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๕๐   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
              ()   รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
              ()   ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
              ()   รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
              ()   ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
              ()   ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
              ()   ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
              ()   ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
              ()   บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
              ()   หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
              การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
              [วรรคสองของมาตรา ๕๐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๕๑   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
              ()   ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
              ()   ให้มีโรงฆ่าสัตว์
              ()   ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
              ()   ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
              ()   บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
              ()   ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
              ()   ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
              ()   ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
              ()   เทศพาณิชย์
              [มาตรา ๕๑   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๑๑]

บทที่
เทศบาลเมือง

              มาตรา ๕๒   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๕๒ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๕๓   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
              ()   กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
              ()   ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
              ()   ให้มีโรงฆ่าสัตว์
              ()   ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
              ()   ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
              ()   ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
              ()   ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
              ()   ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
              [มาตรา ๕๓   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๗) .. ๒๕๑๗]
              มาตรา ๕๔   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมืองอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
              ()   ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
              ()   ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
              ()   บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
              ()   ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
              ()   ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
              ()   ให้มีการสาธารณูปการ
              ()   จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
              ()   จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
              ()   ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
              (๑๐) ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
              (๑๑) ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
              (๑๒) เทศพาณิชย์
              [มาตรา ๕๔ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๑๑]

บทที่
เทศบาลนคร

              มาตรา ๕๕   (ยกเลิก)
              [มาตรา ๕๕    ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๕๖   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลนครมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
              ()   กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๓
              ()   ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
              ()   กิจการอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
              ()   การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
              ()   จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
              ()   จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
              ()   การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
              ()   การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว
              [มาตรา ๕๖ (๔)-(๘) เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) .. ๒๕๔๒ ]
              มาตรา ๕๗   เทศบาลนครอาจจัดทำกิจการอื่นๆ ตามมาตรา ๕๔ ได้

บทที่ ทวิ
การทำการนอกเขตเทศบาลและการทำการร่วมกับบุคคลอื่น
[เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๑]

 

              มาตรา ๕๗   ทวิ เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขต เมื่อ

              ()   การนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน
              ()   ได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาล สภาจังหวัดหรือสภาตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และ
              ()   ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
              [มาตรา ๕๗   ทวิ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๑๑]
              มาตรา ๕๗   ตรี เทศบาลอาจทำการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด เมื่อ
              ()   บริษัทจำกัดนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค
              ()   เทศบาลต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้ในกรณีที่มีหลายเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสุขาภิบาลถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ
              ()   ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
              การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่เทศบาลถืออยู่ในบริษัทจำกัด ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
              ความใน () และ () ของวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดที่เทศบาลร่วมก่อตั้งหรือถือหุ้นนั้น ไม่มีเอกชนถือหุ้นอยู่ด้วย
              [มาตรา ๕๗   ตรี เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๑๑]

บทที่
สหการ

              มาตรา ๕๘   ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้นเรียกว่าสหการ มีสภาพเป็นทบวงการเมือง และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
              การจัดตั้งสหการจะทำได้ก็แต่โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งจะได้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้
              การยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย
              มาตรา ๕๙   สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้ภายใต้บังคับมาตรา       ๖๖() หรือ ()

ส่วนที่
เทศบัญญัติ

              มาตรา ๖๐   เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมายในกรณี ดังต่อไปนี้
              ()   เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
              ()   เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ
              ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนด เกินกว่าหนึ่งพันบาท
              [มาตรา ๖๐ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๕) .. ๒๕๑๐]
              มาตรา ๖๑   เทศพาณิชย์ของเทศบาล ให้ตราเป็นเทศบัญญัติ กิจการใดที่เทศบาลมีรายได้หรือผลพลอยได้อันเกิดจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่ จะไม่ตราเป็นเทศบัญญัติก็ได้
              [มาตรา ๖๑   แก้ไข โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕]

              มาตรา ๖๑   ทวิ ร่างเทศบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย

              ()   นายกเทศมนตรี
              (๒)   สมาชิกสภาเทศบาล หรือ
              ()   ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
              ()   ในกรณีที่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้เสนอร่างเทศบัญญัติต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลลงนามรับรองไม่น้อยกว่าสองคน
              ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน สมาชิกสภาเทศบาลจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
              [มาตรา ๖๑   ทวิ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๖๑   ตรี ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน หมายความถึงร่างเทศพาณิชย์ หรือร่างเทศบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              ()   การจัดเก็บ ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบ การบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
              ()   การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน หรือการโอนงบประมาณของเทศบาล
              (๓)   การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
              ()   การคลัง การงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
              ()   การจ้างและการพัสดุ
              ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างเทศบัญญัติใดเป็นร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี ให้ประธานสภาเทศบาลเป็นผู้วินิจฉัย
              [มาตรา ๖๑   ตรี เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓]
              มาตรา ๖๒   ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาเทศบาลได้มีมติเห็นชอบดัวยกับร่างเทศบัญญัติใดในกรณีเทศบาลตำบล ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัติไปยังนายอำเภอเพื่อส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา ในกรณีเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ให้ประธานสภาเทศบาลส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา
              ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องพิจารณาร่างเทศบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้เสร็จและส่งคืนประธานสภาเทศบาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัตินั้น ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับร่างเทศบัญญัติดังกล่าว
              ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับร่างเทศบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งนายกเทศมนตรีลงนามใช้บังคับเป็นเทศบัญญัติต่อไป แต่ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยให้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสภาเทศบาล และให้สภาเทศบาลพิจารณาใหม่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัติคืนมา ถ้าสภาเทศบาลมีมติยืนยันตามร่างเทศบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัตินั้นให้นายกเทศมนตรีลงนามใช้บังคับเป็นเทศบัญญัติ และแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบต่อไป แต่ถ้าสภาเทศบาลไม่ยืนยันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัติคืนจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ ยืนยันตามร่างเทศบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
              [วรรคสามของมาตรา ๖๒ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๖๒   ทวิ (ยกเลิก)
              [มาตรา ๖๒   ทวิ ยกเลิก โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๖๒   ตรี ในกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการ คณะหนึ่ง ประกอบด้วย กรรมการจำนวนสิบห้าคน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยแก้ไข ปรับปรุงหรือยืนยันสาระสำคัญในร่างเทศบัญญัตินั้น ทั้งนี้ ให้ยึดถือหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประโยชน์ของท้องถิ่นและประชาชนเป็นสำคัญ
              คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งสภาเทศบาลเสนอจำนวนเจ็ดคน และบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งนายกเทศมนตรีเสนอจำนวนเจ็ดคน โดยให้แต่งตั้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติไม่รับหลักการ และให้กรรมการทั้งสิบสี่คนร่วมกันปรึกษาและเสนอบุคคล ซึ่งมิได้เป็นนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลคนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กรรมการครบจำนวนสิบสี่คน
              ในกรณีที่ไม่สามารถเสนอบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือประธานกรรมการได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือกรรมการหรือประธานกรรมการไม่ปฏิบัติหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลทำหน้าที่กรรมการหรือประธานกรรมการดังกล่าวให้ครบตามจำนวน


              ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณาร่างเทศบัญญัติให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้แต่งตั้งประธานกรรมการในคราวแรก แล้วรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่คณะกรรมการไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ประธานกรรมการรวบรวมผลการพิจารณาแล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว แล้วรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
              ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งร่างเทศบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหรือประธานกรรมการในวรรคสี่ให้นายกเทศมนตรีโดยเร็ว แล้วให้นายกเทศมนตรีเสนอร่างเทศบัญญัติดังกล่าว ต่อสภาเทศบาลตามมาตรา ๖๑ ทวิ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด หากนายกเทศมนตรีไม่เสนอร่างเทศบัญญัตินั้นต่อสภาเทศบาลภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
              [มาตรา ๖๒   ตรี แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๖๒   จัตวา ให้สภาเทศบาลพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตามมาตรา ๖๒ ตรี วรรคห้า ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัติจากนายกเทศมนตรี หากสภาเทศบาลพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดหรือมีมติไม่เห็นชอบให้ตราเทศบัญญัตินั้น ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป และให้ใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วไปพลางก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล
              ในการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของเทศบาล การเสนอ การแปรญัตติ หรือกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาเทศบาลมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายจะกระทำมิได้
              [มาตรา ๖๒   จัตวา เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๖๓   นอกจากที่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเทศบัญญัตินั้นให้ใช้บังคับได้ เมื่อประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้วเจ็ดวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน ถ้ามีความระบุไว้ในเทศบัญญัตินั้นว่าให้ใช้บังคับทันที ก็ให้ใช้บังคับในวันที่ได้ประกาศนั้น
              มาตรา ๖๔   ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ คณะเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราวได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และเมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว ก็ให้ใช้บังคับได้
              ในการประชุมสภาเทศบาลคราวต่อไป ให้นำเทศบัญญัติชั่วคราวนั้นเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาเทศบาลอนุมัติแล้ว เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น
              คำอนุมัติและไม่อนุมัติของสภาเทศบาลที่กล่าวนี้ ให้ทำเป็นเทศบัญญัติ



ส่วนที่
การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล

              มาตรา ๖๕   งบประมาณประจำปีของเทศบาลต้องตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติ ถ้าเทศบัญญัติงบประมาณออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
              ถ้าในปีใดจำนวนเงินซึ่งได้อนุญาตไว้ตามงบประมาณปรากฏว่าไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปี ก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรายรับหรือรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้ตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม

              มาตรา ๖๖   เทศบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

              ()   ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
              ()   ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
              ()   รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
              ()   รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
              ()   พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
              ()   เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ
              ()   เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
              ()   เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
              ()   รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
              การกู้เงินตาม () เทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว
              [มาตรา ๖๖    แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) .. ๒๔๙๘]

              มาตรา ๖๗   เทศบาลอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้

              ()   เงินเดือน
              ()   ค่าจ้าง
              ()   เงินตอบแทนอื่นๆ
              ()   ค่าใช้สอย
              ()   ค่าวัสดุ
              ()   ค่าครุภัณฑ์
              ()   ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ
              ()   เงินอุดหนุน
              ()   รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่มีกฎหมาย หรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
              [มาตรา ๖๗   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๖๗   ทวิ การจ่ายเงินตามมาตรา ๖๗ () และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติแล้ว
              [มาตรา ๖๗  ทวิ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๖๗   ตรี การจ่ายเงินตามมาตรา ๖๗ () ถ้าเป็นการชำระหนี้เงินกู้เมื่อถึงกำหนดชำระ เทศบาลจะต้องชำระเงินกู้นั้นจากทรัพย์สินของเทศบาลไม่ว่าจะตั้งงบประมาณรายจ่ายประเภทนี้ไว้หรือไม่
              [มาตรา ๖๗ ตรี แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๖๘   การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้งขึ้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
              [มาตรา ๖๗ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๖๙   ให้กระทรวงมหาดไทยตราระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการคลังรวมตลอดถึงวิธีการงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้
              มาตรา ๗๐   โดยปกติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการตรวจสอบการคลัง การบัญชี หรือการเงินอื่นๆ ของเทศบาลปีละครั้ง

ส่วนที่
การควบคุมเทศบาล

              มาตรา ๗๑   ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้นให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
              ให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาลตำบล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
              มาตรา ๗๒   เมื่อนายอำเภอ ในกรณีแห่งเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีแห่งเทศบาลเมืองและเทศบาลนครเห็นว่า นายกเทศมนตรี หรือรองนายกเทศมนตรีผู้ใดปฏิบัติการของเทศบาลไปในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่เทศบาล หรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติของนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีนั้นไว้ก่อนได้ แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรีบรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยสั่งการตามสมควร
              คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามความในวรรคก่อนไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
              [วรรคหนึ่งของมาตรา ๗๒ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]
              มาตรา ๗๓   ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
              [มาตรา ๗๓   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖]

              มาตรา ๗๔   เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อยุบสภาเทศบาลก็ได้

              เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาเทศบาลและให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย
              เมื่อมีการยุบสภาเทศบาลหรือถือว่ามีการยุบสภาเทศบาลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลภายในสี่สิบห้าวัน
              [มาตรา ๗๔   แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) .. ๒๕๔๒]
                   มาตรา ๗๕   ในเมื่อเห็นจำเป็นที่จะให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรง ก็ให้ทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
              เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทย ตามความในวรรคก่อน บรรดาอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอันเกี่ยวกับเทศบาลนั้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

ส่วนที่
คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล

              มาตรา ๗๕   ทวิ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อธิบดีกรมมหาดไทย อธิบดีกรมโยธาเทศบาล อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณ ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่น กรมมหาดไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน
              ให้ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่นกรมมหาดไทย เป็นเลขานุการคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
              ให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลมีหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอข้อแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับกิจการเทศบาลโดยทั่วไป
              [มาตรา ๗๕   ทวิ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๗๕   ตรี กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

              กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

              [มาตรา ๗๕   ตรี เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]
                   มาตรา ๗๕      จัตวา นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๗๕ ตรี กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
              ()   ตาย
              ()   ลาออก
              ()   เป็นบุคคลล้มละลาย
              ()   เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
              ()   ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่คดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
              เมื่อกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้
              กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลผู้ได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อน อยู่ในตำแหน่งตามวาระเท่าผู้ที่ตนแทน
              [มาตรา ๗๕   จัตวา เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๗๕   เบญจ ในการประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล ถ้าประธานกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลที่มาประชุมเลือกกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
              [มาตรา ๗๕  เบญจ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]
              มาตรา ๗๕   ฉ การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

              การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

              กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
              [มาตรา ๗๕ ฉ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕]

บทเฉพาะกาล

              มาตรา ๗๖   ให้สมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีแห่งเทศบาลที่ได้จัดตั้งอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัตินี้พ้นจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลใหม่ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ แต่ให้คณะเทศมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งดำเนินกิจการในหน้าที่ของคณะเทศมนตรีต่อไปจนกว่าคณะเทศมนตรีที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่เทศบาลใดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานเท่าจำนวนคณะเทศมนตรีแห่งเทศบาลนั้นเข้าดำเนินกิจการแทนก็ให้คณะเทศมนตรีนั้นพ้นจากหน้าที่

การรักษาพระราชบัญญัติ


              มาตรา ๗๗  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงหรือระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
              กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล .พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

 










พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ) .. ๒๔๙๘

             
           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลานี้บางมาตรายังไม่เหมาะสม เช่นให้เทศบาลกู้เงินได้เฉพาะจากกระทรวงทบวงกรมหรือองค์การต่างๆ เท่านั้น และบางกรณีก็มิได้กำหนดความรับผิดชอบผูกพันการชำระเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันไว้ให้แน่นอน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น
              [รก.๒๔๙๘/๙๘/๑๖๒๕/๒๗ ธันวาคม ๒๔๙๘]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) .. ๒๔๙๙


              มาตรา ๑๐   สมาชิกสภาเทศบาลประเภทที่สองแห่งเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไปจนถึงคราวออกตามวาระ และถ้าตำแหน่งว่างลงเพราะเหตุอื่นก่อนถึงคราวออกตามวาระจะแต่งตั้งสมาชิกขึ้นแทนต่อไป ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ได้

           หมายเหตุ:-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรที่จะยกเลิกสมาชิกสภาเทศบาลประเภทที่สอง เพื่อให้มีแต่สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งแต่ประเภทเดียว กับแก้ไขเพิ่มเติมไม่ต้องให้มีการแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติ และวิทยฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลในฐานะเป็นผู้เริ่มการสำหรับท้องถิ่นที่เป็นสุขาภิบาลอยู่ก่อนแล้วจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาล เพราะท้องถิ่นที่เป็นสุขาภิบาลอยู่ก่อนแล้วนั้นได้มีการปฏิบัติหน้าที่ของท้องถิ่นต่อเนื่องกันมาโดยมีกรรมการเลือกตั้งจากราษฎรเข้าสมทบเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้มีสมาชิกสภาเทศบาลในฐานะเป็นผู้เริ่มการอีก นอกจากนี้ การเปลี่ยนชื่อเทศบาลยังไม่มีบทบัญญัติระบุไว้ชัดแจ้งว่าจะกระทำได้โดยวิธีใด เพื่อไม่ให้มีปัญหาจึงสมควรจะได้มีบทบัญญัติไว้เสียให้ชัดว่า การเปลี่ยนชื่อเทศบาลให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ บางมาตรา
              [รก.๒๕๐๐/๑๑/๓๔๕/๒๙ มกราคม ๒๕๐๐]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๐๕


              มาตรา ๖    ในกรณีที่เห็นสมควรกระทรวงมหาดไทยอาจแต่งตั้งข้าราชการไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของเทศบาลใดเป็นการชั่วคราวได้ โดยไม่ขาดจากความเป็นข้าราชการและคงได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิม ถ้าแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงอื่น ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับกระทรวงเจ้าสังกัดก่อนแต่งตั้ง
              ให้ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งมีฐานะอย่างเดียวกับพนักงานเทศบาลทุกประการ
              มาตรา ๗ การจัดทำกิจการตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ของเทศบาลใดให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย
              ความในวรรคก่อนไม่กระทบกระทั่งกิจการใดๆ ที่เทศบาลจัดทำอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
              ประกาศของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล และเพื่อกำหนดรายจ่ายของเทศบาลให้สอดคล้องกับหลักการงบประมาณ
              [รก.๒๕๐๕/๑๘/๒๐๐/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ) .. ๒๕๑๐

           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจของคณะเทศมนตรีและนายกเทศมนตรีในการปฏิบัติงานประจำทั้งการเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติและอัตราค่าปรับ คดีละเมิดเทศบัญญัติก็ยังไม่อยู่ในระดับที่สมควร จึงเห็นสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ดังนี้
              ๑.     ให้คณะเทศมนตรีมอบอำนาจให้นายกเทศมนตรี เทศมนตรีหรือพนักงานเทศบาล หรือนายกเทศมนตรีจะมอบอำนาจให้เทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ทำกิจการใดๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำตามปกติ ซึ่งกฎหมายระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีได้
              ๒.     แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติของนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี เพื่อให้มีอำนาจสั่งเรียกพยานมาเพื่อบันทึกถ้อยคำประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบคดีได้ ถ้าไม่มาให้ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
              ๓.     แก้ไขอัตราค่าปรับคดีละเมิดเทศบัญญัติให้สูงขึ้นจากหนึ่งร้อยบาทเป็นหนึ่งพันบาท
              [รก.๒๕๑๐/๒๖/๑๔๘/๒๑ มีนาคม ๒๕๑๐]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ) .. ๒๕๑๑

           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เทศบาลยังไม่อาจจัดทำกิจการในหน้าที่บางอย่างนอกเขตเทศบาล หรือลงทุนร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นหรือกับบุคคลอื่นได้ ฉะนั้น เพื่อให้เทศบาลดำเนิน กิจการดังกล่าวให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นยิ่งขึ้น จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเทศบาลบางมาตราเสียใหม่
              [รก.๒๕๑๑/๔๖/๒๖๖/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๗) .. ๒๕๑๗


              มาตรา ๔    ให้เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งยังไม่มีโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น จัดตั้งโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่นขึ้นภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่ถ้ามีเหตุอันสมควรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจอนุญาตให้ขยายเวลาต่อไปได้อีกไม่เกินสองปี

           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ ได้กำหนดหน้าที่ต่างๆ ให้เทศบาลต้องจัดทำภายในเขตเทศบาล แต่กิจการบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ยากจน คือกิจการโรงรับจำนำและกิจการสถานสินเชื่อเทศบาลยังมิได้มีหน้าที่ที่จำต้องจัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ และโดยที่พิจารณาเห็นว่ากิจการโรงรับจำนำและกิจการสถานสินเชื่อธนาภิบาลเป็นแหล่งที่อำนวยช่วยเหลือประชาชนผู้ยากจนในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการเงินเพื่อยังชีพของครอบครัวตามสมควร กำหนดให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือกิจการสถานสินเชื่อธนาภิบาลภายในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากจนต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
              [รก.๒๕๑๗/๒๐๒/ ./๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๗]

 

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ) .. ๒๕๑๙


           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. ๒๔๙๖ บางมาตรายังไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณ ได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องส่งร่างเทศบัญญัติที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและไม่คล่องตัวในการบริหารงานท้องถิ่น สมควรแก้ไขให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
              [รก.๒๕๑๗/๑๕๖/๓๗ ./๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๙]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๙) .. ๒๕๒๓


           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ กิจการงานของเทศบาลเมืองได้เพิ่มภาระและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคม การเศรษฐกิจ การศึกษา การผังเมือง การสาธารณูปโภค และการบริการแก่สาธารณะ แต่จำนวนเทศมนตรีของเทศบาลยังมีจำนวน ๒ คน เท่ากับเทศบาลตำบลที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ ความรับผิดชอบในภาระต่างๆ ปัจจุบันเท่ากับเทศบาลนครซึ่งมีเทศมนตรีถึง ๔ คน ด้วยเหตุดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มจำนวนเทศมนตรีตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลและความรับผิดชอบในภาระต่างๆ ที่นับวันยิ่งสลับซับซ้อนขึ้น
              [รก.๒๕๒๓/๑๓๑/ ./๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๓]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) .. ๒๕๔๒

              มาตรา ๑๔   บรรดากิจการทั้งหลายที่สมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กระทำไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือจนถึงวันที่มีการยุบสภาเทศบาลให้เป็นอันใช้บังคับได้และมีผลผูกพันเทศบาล
              มาตรา ๑๕   การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี และวันเลือกตั้งไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปตามระยะเวลาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
           หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดหลักการในการจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในส่วนของวาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ข้อห้ามและการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล การพ้นจากตำแหน่งเทศมนตรีและคณะเทศมนตรี การยุบสภาเทศบาล รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
              [รก.๒๕๔๒// /๑๐ มีนาคม ๒๕๔๒]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) .. ๒๕๔๓

              มาตรา ๒๐   บรรดาสมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖
              มาตรา ๒๑   ให้นำมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับกับเทศบาลทุกแห่งนับแต่วันที่ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังต่อไปนี้
              (๑)   ในกรณีที่ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครหรือสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแห่งใด โดยเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุมีการยุบสภาหรือถึงคราวออกตามวาระ และเป็นการเลือกตั้งของเทศบาลแห่งนั้นในครั้งแรกนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตามบทที่ ทวิ นายกเทศมนตรีในคราวเดียวกัน โดยมิให้นำมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ แต่เมื่อสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งดังกล่าวเข้ารับตำแหน่งแล้ว ให้นำมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับกับเทศบาลแห่งนั้น
              (๒)   ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแห่งใดเป็นเทศบาลเมืองก่อนวันที่ มกราคม ๒๕๕๐ ให้นำความใน () มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีของเทศบาลเมืองนั้นด้วยโดยอนุโลม
              การบริหารเทศบาลตำบลให้ดำเนินการบริหารในรูปแบบคณะเทศมนตรี ตามบทที่ ๒ คณะเทศมนตรีต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากวันที่ มกราคม ๒๕๕๐ ในกรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราบัญญัตินี้มาใช้บังคับสำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น
              มาตรา ๒๒   ในกรณีเทศบาลใดกำหนดวันเลือกตั้งไว้ก่อนแล้วก่อนวันจัดทำประชามติตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ดำเนินการเลือกตั้งในรูปแบบคณะเทศมนตรีต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๒๓   ในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลหรือนายกเทศมนตรีเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
              ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี ให้เทศบาลเรียกเก็บค่าสมัครเป็นจำนวนห้าพันบาท
              ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้ง
              ในกรณีที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีในคราวเดียวกัน ให้ใช้หน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง เจ้าพนักงานผ้ดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจคะแนน เจ้าหน้าที่คะแนน และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันก็ได้
              ใบสมัครและบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลหรือนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
              เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทยอาจออกระเบียบกำหนดวิธีปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลหรือนายกเทศมนตรีเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลได้                                   
           หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น และการเลือกตั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ สมควรปรับปรุงรูปแบบการบริหารเทศบาลจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกกันเองของสมาชิกสภาเทศบาล เป็นให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของราษฎรในท้องถิ่นโดยตรง นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานของสภาเทศบาล ให้เหมาะสมและสอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
              [รก.๒๕๔๓/๑๑๗/๔๑ /๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๒]

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) .. ๒๕๔๖

              มาตรา ๔๖   บรรดาสมาชิกสภาเทศบาล คณะเทศมนตรี นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระหรือมีการยุบสภาเทศบาล ในกรณีเช่นว่านี้ ให้บทบัญญัติในส่วนที่ บทที่ สภาเทศบาล และบทที่ คณะเทศมนตรี ในส่วนที่ เทศบัญญัติ และในส่วนที่ การควบคุมเทศบาลแห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล .. ๒๔๙๖ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๔๖/๑ ในวาระเริ่มแรกเป็นเวลาสี่ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๔๘ เบญจ () แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
              มาตรา ๔๗   บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่กำหนดการจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี เทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี การจ่ายเงินค่าป่วยการแก่ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้งขึ้น ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการออกระเบียบตามมาตรา ๔๘ จตุวีสติ และมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

           หมายเหตุ:- เนื่องจากพระราชบัญญัติเทศบาล .. ๒๔๙๖ กำหนดรูปแบบการบริหารเทศบาลสองรูปแบบ คือ รูปแบบคณะเทศมนตรีและรูปแบบนายกเทศมนตรี เพื่อให้การบริหารเทศบาลเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบกับมีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่เหมาะสมกับการบริหารงานของเทศบาล เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
              [รก.๒๕๔๖/๑๒๐/๑๒๔ ก/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๖]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกณฑ์และกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560

เกณฑ์และกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 เกณฑ์และกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็...

สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท. ปี 2560

สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท. ปี 2560
สมัคร ติวสอบ ข้าราชการ พนักงาน อปท. ปี 2560